วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสร้างโรงเรียน ตาดีกา ในสามจังหวัดชายแดนใต้

 เมื่อ ทราบข่าวว่าที่โรงเรียน ตาดี กา
ที่ยังสร้างไม่เสร็จในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้..ผมจังอยากจะลงไปดู ไปสัมผัส ด้วยมือ ไปดูด้วยตา ไปฟังด้วยหู ..แม้ผมจะไม่ใช่คนปักษ์ใต้
และผมไม่ใช่คนอิสลาม...แต่ผมคิดว่า นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับผม...
ในโพสต์นี้

ภาพบนคือ สภาพของโรงเรียน
ที่นักศึกษารามคำแหง มาร่วมกันสร้าง โโยการขอบิจาค จากเอกชน

ภาพล่าง คื้อภาพหลังจากเราระดมทุนเรี่ยไรเงินคนละ100 มาช่วยกันสร้างต่อ.....

ชายแดนใต้...

บางคนอาจจะเรียก กันว่า พื้นที่ชายแดนใต้..พื้นที่สีแดง พื้นที่อันตราย..อย่างยิ่งยวด...
แต่ผม..ไม่รับรู้หรอก..ผมรู้แต่ว่าผมสงสัย ว่าทำไม รัฐบาลไม่ให้งบเขาทำโรงเรียน  และผมอยากรู้เหตุผลว่า..
ทำไม ชาวบ้านอยากสร้างโรงเรียน
แม้ต้องออกเงินกันเอง...

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไปร่วมสร้างโรงเรียนตาดีกาที่สายบุรี

ผมได้รับคำบอกเล่าจากน้องทหารพรานหญิง ว่าที่
ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เด็กๆอิสลามไม่มีโรงเรียนตาดีกา..
เราเลยตกลงจะลงไปช่วยทำ..

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประวัติหมู่บ้านมะแนดาแล.. ตำบลปล่องหอย

ประวัติความเป็นมา
 หมู่บ้านมะแนดาแล..
บ้านมะแนดาแลนั้น มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 500 ปี ตามคำบอกเล่า คนผู้เฒ่า ผู้แก่ ในอดีตนั้น
บ้านมะแนดาแล ไม่ได้ชื่อดังเช่นปัจจุบัณนี้ แต่มีชื่อว่า "หมู่บ้านบ่าว"
ซึ่งปัจจุบัณบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านดังกล่าว เป็นบริเวณท้องทุ่งนาไปหมดแล้ว ชาวบ้านเรียกแถวนั้นว่า
(บือแนบ่าว) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ในปัจจุบัณ

ในอดีตนั้น หมู่บ้านบ่าว มีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อ ."โต๊ะบ่าว"เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน โดยมีผู้ชายเป็นกำลังหลักในการดูแลรักษาหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความเคารพนับถือโต๊ะบ่าว เป็นอย่างยิ่ง
โต๊ะบ่าวก็ปกครองลูกบ้านอยู่อย่างเป็นสุขเรื่อยมา...ซึ่งโต๊ะบ่าวเองมีแต่บุตรธิดาเท่านั้น
อาชีพหลักของชาวบ้าน คือทำนาเป็นอาชีพหลัก...

          อยู่มาวันหนึ่ง..มีบุรุษนิรนาม ได้เข้ามาขออาศัยอยู่ในหมู่บ้าน"บ่าว" โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าบุรุษนิรนามนั้นเป็นใครมาจากไหน แต่ด้วยเพราะนิสัยใจคอเป็นผู้มีอัธยาศัยดี ทำให้ชาวบ้าน โดยที่บุรุษนิรนามผู้นั้น ได้มารับจ้างทำงานต่างๆในหมู่บ้านเรื่อยมา และอยู่อย่างมีความสุข โดยอาศัยอยู่ในกระท่อมท้ายหมู่บ้าน"บ่าว"
....      วันหนึ่งมีผู้ไม่หวังดีจากถิ่นอื่น มาท้าประลองโต๊ะบ่าวให้สู้กัน โดยหวังจะยึดหมู่บ้าน"บ่าว"
และจะทำการปกครองแทนโต๊ะบ่าว เพราะหมู่บ้านบ่าว มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก จึงเป็นที่ต้องการของคู่ต่อสู้ การมาท้าประลองในครั้งนี้ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะออกไปประลองด้วย เพราะเกรงขามในความเก่งกาจของคู่ต่อสู้..
ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว กับอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น เมื่อไม่มีผู้ใดกล้าที่จะออกไปต่อสู้กับศัตรูที่มารุกรานในหมู่บ้านบ่าว
            ส่วนโต๊ะบ่าวนั้นก็คิดหนัก เพราะตัวเองก็มีอายุมากแล้วส่วนบุตรก็มีแต่บุตรธิดาเท่านั้น
มิหนำซ้ำ ไม่มีผู้ใดกล้าออกไปต่อสู้ด้วย ทำให้โต๊ะบ่าว เกิดความกลุ้มอกกลุ้มใจเป็นอย่างมาก ในการที่จะรักษาหมู่บ้านให้อยู่รอดปลอดภัย ...
          กล่าวถึงบุรุษนิรนามพอได้ทราบข่าวว่ามีผู้ไม่หวังดีเข้ามาท้าประลอง..แต่ไม่มีใครกล้าออกไปประลอง  ก้เลยขออาสาไปประลองแทนโต๊ะบ่าวเพราะด้วยสำนึกในบุญคุณที่ได้มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน
ซึ่งโต๊ะบ่าวก็อนุญาต และให้คำมั่นสัญญาว่า หากการปประลองในครั้งนี้
ถ้าบุรุษนิรนามได้รับชัยชนะ ก็จะยกธิดาให้เป็นภรรยา พร้อมกับจะยกหมู่บ้านให้ปกครองอีกครึ่งหนึ่งด้วย
          ฝ่ายบุรุษนิรนามนั้น เมื่อโต๊ะบ่าวอนุญาตให้ไปประลองแล้ว ก้ได้อำลาโต๊ะบ่าว และได้เดินทางออกจากหมู่บ้านเพื่อไปประลองกับคู่ต่อสู้..
          สนามประลองในครั้งนั้น ปัจจุบัณคือบริเวร หมู่ที่ 1 บ้านมะกอ จากการประลองการต่อสู้ในครั้งนั้น
บุรุษนิรนามและคู่ต่อสู้ต่างใช้ความรู้ความสามารถของตนที่มีอยู่อย่างสุดความสามรถ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ..จนสุดท้ายบุรุษนิรนามเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะกลับมา สามารถสังหารคู่ต่อสู้ได้ นำความปลาบปลื้มปิติมายังหมู่บ้านบ่าว โดยเฉพาะหัวหน้าหมู่บ้าน ที่ทึ่งในความสามารถของบุรุษนิรนามเป็นอย่างมาก...
         
         โต๊ะบ่าวก็ได้รักษาสัญญา โดยยกธิดาพร้อมยกหมู่บ้านให้ปกครองครึ่งหนึ่ง ด้วยความจำใจ กับสัญญาที่ให้ไว้กับบุรุษนิรนามผู้นี้ บุรุษนิรนามเมื่อได้ธิดาหัวหน้าหมู่บ้านมาเป็นภรรยาก็ได้ย้ายจากกระท่อมท้ายหมู่บ้าน เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านโต๊ะบ่าวเป็นการชั่วคราวก่อนจะขยับขยายหาที่ใหม่..
         แต่การเข้ามาอาศัยอยูบ้านโต๊ะบ่าว ของบุรุษนิรนามนั้นก็ทำให้เกิดคำครหาขึ้นมาอีก ว่า "โต๊ะบ่าว"
นั้นได้ลูกเขยทั้งที่ไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน ส่วนโต๊ะบ่าวเป็นถึงหัวหน้าหมู่บ้าน  บางก็ว่าเป็นเพียงคนที่มารับจ้างทำงานหากินไปวันๆหนึ่ง ไม่มีหัวนอนปลายเท้า เป็นหลักแหล่ง
 ก็ทำให้โต๊ะบ่าวอับอายขายหน้าเป็นอย่างยิ่ง ลืมนึกถึงควาทมอยู่รอดของหมู่บ้าน
ซึ่งเพิ่งพ้นประสพการณ์มา ก็เลยคิดเล่ห์กลอุบาย เพื่อจะไล่ธิดาและลูกเขยไปจากหมู่บ้านบ่าว  เพื่อให้ไปหาบุกเบิกหมู่บ้านเอาใหม่ ซึ่งที่จะไปบุกเบิกใหม่นั้นเป็นสถานที่ ที่ไม่มีใครกล้าไป เพราะมีอันตรายมาก โดยที่ใจจริงแล้วโต๊ะบ่าวอยากให้ทั้งคู่เสียชีวิตที่เกิดจากอันตรายของสัตว์ร้ายนานาชนิดมากกว่า
ซึ่งก็ไม่เป็นดั่งที่ท่านหวังไว้ และธิดาของท่านกับบุรุษนิรนามก้ทราบดี แต่ทั้งสองก็ไม่ได้ทักท้วงอะไร
ในเมื่อเป็นความต้องการของบิดา..

          จากการไปบุกเบิกสร้างหมู่บ้านใหม่นั้น ทำให้ทั้งคู่ต้องออกจากหมู่บ้านบ่าว โดยมีชาวบ้านทะยอย
ตามกันเข้าไปอาศัยอยู่ด้วย และก็ยังมีลูกหลานตามมาอย่างมากมาย
จุดที่ทั้งคู่ตั้งบ้านหลังแรกนั้น ปัจจุบัณคือ"บนถนนหลวงหน้าบ้าน นาย ยะโกะ วายะโยะ"
(แบโกะ อาเนาะเมาะ)

          จนกระทั่งวันหนึ่งได้มี ครูสอนสีละ (ศิลปะการต่อสู้ของชาวมลายู)คนหนึ่ง เป็นผู้หญิงซึ่งนางได้เดินทางมาจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ทำการสอนสีละ จากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่ง เรื่อยๆจนได้มา
ถึงหมู่บ้านที่บุรุษนิรนามปกครองอยู่ จากการได้มาสอนสีละที่หมู่บ้านแห่งนี้ ทำให้ครูที่มาสอนสีละได้รู้ว่า
บุรุษนิรนามที่ปกครองหมู่บ้านแห่งนี้ก็คือพี่ชายของนาง ที่ได้หนีจากบ้านเกิดเมืองนอนมานานหลายปีแล้ว...และนางก็กำลังตามหาพี่ชายมาตลอด โดยอาศัยความรู้ที่มีมาเป็นครูสอนสีละ ซึ่งนางผู้นี้เดินทางมาจากเมือง "มินังกาบาว แระเทศอินโดนีเซีย"

        สาเหตุที่พี่ชายของนางได้หนีมานั้น บ้างก็ว่าแพ้การแข่งสีละ บ้างก็ว่าแพ้การชนควาย ก็เกิดความอับอาย จึงได้หนีจากบ้านเกิดเมืองนอน มิหนำซ้ำเป็นถึงลูกเจ้าเมือง มินังกาบาว ที่ชื่อ "ต่วนบาวก์"
เมื่อนางได้พบกับพี่ชายก็ได้ถามถึงความเป็นอยู่ของพี่ชาย และได้ชักชวนให้พี่ชายกลับเมือง มินังกาบาว แต่ต่วนบาวก์ ก็ได้ตอบปฏิเสธกับน้องสาวไป เพราะตัวต่วนบาวก์เองมีครอบครัวที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบ และยังมีลูกบ้านที่ต้องปกปักรักษา  ส่วนน้องสาวเมื่อต่วนบาวก์ตอบปฏิเสธมาดังนั้น นางก็อวยพรให้พี่ชายและครอบครัวโชคดี และได้อำลาพี่ชายกับเมืองมินังกาบาว ประเทศอินโดนีเซีย...

          ในเวลาต่อมา โต๊ะบ่าวผู้เป็นพ่อตา เมื่อทราบว่าลูกเขยของตน เป็นถึงลูกเจ้าเมือง มินังกาบาว ประเทศอิรโดนีเซีย ก็ทำให้โต๊ะบ่าวยอมรับลูกเขยตัวเองอย่างเต็มปาก และยอมรับความสามารถของ ต่วนบาวก์ เป็นอย่างมาก..
          ต่วนบาวก์ก็ได้ปกครองหมู่บ้านอย่างสงบสุ๘เรื่อยมา และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า
"บ้านบือแนดาแล " บือแนดาแลแปลว่า นาใน" ซึ่งตรงกับสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ ที่เป็นนาตั้งในหุบเขาล้อมรอบ ซึ่งปัจจุบัณ เปลี่ยนชื่่อมาเป็น "บ้านมะแนดาแล"

          ตามสภาพกาณ์ที่เปลี่ยนแปลงและให้เหมาะสมสำหรับบุตร-ธิดา ของต่วนบาวก์นั้น ไม่ทราบว่ามีกี่คน แต่ที่ผู้เล่าจำได้ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา ก็คือ " วายะ กับ วาโย " แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า ใครเป็นพี่ ใครเป็นน้อง วายะ กับ วาโย นั้น ปัจจุบัณนั้นก้คือ นามสกุล " วายะโยะ" นั่นเอง

         ผู้เขียนพยายามที่จะเรียบเรียงประวัติความเป้นมา ของหมู่บ้าน "มะแนดาแล" ให้ใกล้เคียงที่สุด
โดยได้สอบถามผู้อาวุโสภายในหมู่บ้านที่พออจะเล่าได้ มาบันทึกไว้เป้นอนุสรณ์ ของหมู่บ้าน
หากว่ามีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยใน ณ ที่นี้ด้วย และพร้อมที่จะแก้ไขในสิ่งที่เขียนผิด แลพยินดีที่จะต่อเติม ในส่วนที่ขาดหายไป....

                                                                            ด้วยสลามและดูอาร์

                                                                               นาย ดอหะ             วายะโยะ.....    บอกเล่า
                                                                               นาย  มาหะมะซี      วายะโยะ          เรียบเรียง
                                                                               นาย  ฮัมดัม            วายะโยะ         เรียบเรียง
                                                                               นาย  มายเสิด          มีทอง..          จัดทำเอกสาร..                                                                                            โพสต์เผยแพร่ โดย จามร จรมา 6 สค.2557
...................................................................................................................................................................