วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ขนมอาซูรอห์


นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตของผม..
ที่ได้ไปร่วมประเพณีกวนขนม
"อาซูรอห์" ตามประเพณีของมุสลิม..
ที่สามจังหวัดชายแดนใต้..
ที่เราไปคือ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี
จ.ปัตตานี...

จามร จรมา..

เกลือ..ถ้าหมดรสเค็ม..
ก็ทำประโยชน์อะไรไม่ได้...
ภาพปริศนาธรรม..
ระหว่างไปร่วมงานกวนขนม
"อาซูรอห์" ที่ปะเสยะวอ ปัตตานี
กำลังเดินๆดูชาวบ้าน..เหมือนมีเสีงกระซิบว่า จงเดินไปทางนี้..
ผมก็เดินตามเสียงนั้นบอก..
แล้วเจอเด็กคนนี้(ในภาพ)
เสียงนั้นถามว่าเจ้าเห็นอะไร..
ผมก็ตอบไปว่า..เห็นเด็กเล่น มีแก้วน้ำ ขวดน้ำ แต่..
ข้างในมีแต่ทรายกับหลอด..
เสียงนั้นถามว่าเจ้าดื่มได้ไหม..
ผมตอบว่าไม่ได้..
เสียงนั้นถามว่าแล้วจะทำยังไง..
ผมตอบว่าจะเปลี่ยนเอาทรายออก เอาน้ำใส่ให้..
เสียงนั้นบอกว่า มีเด็กๆอิสลามที่เป็นแบบนี้..เดี๋ยวจะให้คนพาไปดู..สิ้นเสียงนั้นผมก็ถ่ายรูปเด็กคนนี้..
แล้วก็นึกในใจว่าเราจะเจออะไรอีก..
หลังจากนั้นผมได้คุยกับบาบอ และเขาพาไปดูเด็กๆอีกโรงเรียนหนึ่ง
เป็นเด็กกำพร้า อาศัยอยู่ในโรงเรียนปอเนาะ ที่ได้งบมาจากตุรกี บางคนไม่มีรองเท้าใส่
พ่อ-แม่ เสียชีวิตจากเหตุรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้..
หน้าที่ของผมคือ...ต้องเอาทรายออก..และหาน้ำใส่เข้าไปให้เต็มทุกแก้ว..ทุกๆขวด...//

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การสร้างสายสัมพันธ์ ไทยพุทธ-มุสลิม ในปัตตานี

นอกจากการนำสิ่งของที่ได้รับบริจาค
จากเพื่อนๆในเฟชบุค ที่ฝากผ่านให้ผมไปมอบให้กับชุมชนในจังหวัดปัตตานีแล้ว ในบางครั้งเรายังได้รับเชิญให้ไปร่วมงานประเพณี ท้องถิ่น
อันนำมาซึ่งสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน..

กิจกรรมดีๆที่ปัตตานี

นอกจาก นำสิ่งของ เครื่องใช้ที่จำเป็น
ไปมอบให้โรงเรียนแล้ว
แม้แต่ลูกโป่ง ของเล่นเล็กๆน้อยๆ
ก็เรียกความสนใจให้เด็กๆ ได้ไม่น้อย..

สายสัมพันธ์ ไทยพุทธ -มุสลิม

 15 พย.57
ทีมงาน จรมร จรมา
ได้รับความอนุเคราะห์ จากพี่เพ็ญแข
พยาบาลที่ โรงพยาบาล ปัตตานี
ร่วมเดินทางลงไปในพื้นที่
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสามัญประจำบ้าน..
ในพื้นที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี..
กราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
เมื่อวันที่ 15  พย. 2557
ผมกับคุณนาย และทีมงาน
ได้ไปร่วมงานประเพณี กวน"อาซุรอ"
ที่ โรงเรียนอัตเตาบะห์
 บ้านป่าท่าทราย ต.ปะเสยะวอ
อ.สายบุรี จ.ปัตตานี..
ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมันตั้งแต่สมัยเก่าก่อน เป็นการแสดงออกถึงความรักความสามัคคีของคนในชุมชน
"อาซุรอ"หรือภาษาตุรกีเรียกว่า"บุโบร์ซูรอ ชาวบ้านอาจเรียกสั้นสั้นว่า บุโบร์ หรือพุดดิ้งของโนอาห์
ซึ่งประกอบด้วนธัญพืช ผลไม้และถั่ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นขนมที่ครอบครัวของโนอาห์ทำขึ้นฉลองการที่เรือของพวกเขามาถึงยังภูเขาอารารัต ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกี จะทำกันในช่วงเดือน มุฮัรรอม (เดือนที่1 ตามปฎิทินอิสลาม) หลังวันที่ 10 เป็นต้นไป ที่นิยมทำกัน มี 2 แบบ คือ คาว กับหวาน..

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อาหารทะเลที่ชายแดนใต้

นอกจากการได้ลงไปชายแดนใต้เพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับพี่น้องชาวมุสลิมแล้ว เรายังได้เรียนรู้เรื่องการค้าขายร่วมกัน ตั้งแต่ผลิตผล เล็กๆน้อยๆ
ไปจนถึงการทำธุรกิจร่วมกัน...

มัสยิดกือเซะจังหวัตปัตตานี

ที่มัสยิดกือเซะ..ที่มีมีตำนานเล่าขานมิรู้จักจบ...

การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีในปัตตานี

การร่วมกับชาวบ้าน
ในพื้นที่บ้านป่าท่าทราย
ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี
จ.ปัตตานี
ในการร่วมแรงใจ
วางแผนพัฒนาชุมชนแบบยั้งยืน..ของส่วนตัวคือในนามเอกชน..จะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน..
ดังจะเห็นได้ว่า..มีชาวบ้านยินดีที่จะให้ผมกับครอบครัว
ไปพักค้างแรมที่บ้านเขาได้...

ชายแดนใต้ที่ปัตตานี

การนำสิ่งของที่เพื่อนๆฝากไป
ช่วยกันบริจาค..ให้กับพี่น้อง
มุสลิม ในสามจังหวัดชายแดนใต้..คือสิ่งที่ต้องทำควบคู่กับการ
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน..

ความสามัคคีในสามจังหวัดชายแดนใต้

การได้ลงไปพูดคุย ..
และเยี่ยมเยียนพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนใต้ ของผมกับทีมงาน
 ในนาม ของเอกชน ผมคิดว่ามันคือนิมิตรหมายที่ดี ที่เราชาวไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข..โดยไม่มีการแบ่งแยกศาสนา...เพราะเราเชื่อว่า
ทุกศาสนา..สอนคนให้เป็นคนดี
นั่นเอง..

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ถังเก็บน้ำดื่ม ขนาด 5000 ลิตร

สร้างที่วางถังเก็บน้ำดื่ม ให้กับโรงเรียน อัดเตาบะห์
ต.ปะเวยะวอ อ.สายบุรี
จ.ปัตตานี โดยการบริจาคทุน ของเพื่อนๆ ในเฟชบุค....

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

โต๊ะ เก้าอี้ นักเรียน ปัตตานี


เด็กๆ ได้รับเก้าอี้แล้ว...จากเงินบริจาค
ของคนหลากหลายอาชีพ....

การสร้างโรงเรียน อัตเตาบะห์ ปะเสยะวอ อ.สายบุร จ.ปัตตานี

ความคืบหน้าการสร้างอาคารเรียน
โรงเรียนอัตเตาบะห์ บ้านป่าท่าทราย
ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
อาคารหลังแระ สร้างเสร็จแล้ว ครับ
ด้วยความร่วมมือร่วมใจของเพื่อนๆ
ที่ช่วยกันระดมทุนบริจาค เพื่อสามจังหวัดชายแดนใต้
กราบขอบพระคุณเพื่อนๆทุกท่าน
ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ..

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

การสร้างโรงเรียน ตาดีกา ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

การลงไปยังพื้นที่สีแดง..
ที่มีความขัดแย้ง ทางการเมือง การปกครองสูงๆนั้น ค่อนข้างมีความเสี่ยง เพราะมันเหมือนเราไปแย่งมวลชน นั่นเอง..

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

งานนำเสนอโรงเรียนอัตเตาบะห์ YouTube

สร้างโรงเรียน ตาดีกา ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

ความคืบหน้า การสร้างโรงเรียน
อัตเตาบะห์ บ้านป่าท่าทราย
ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี..
ทำสัญญา ว่าจ้าง ค่าแรงช่าง
45 วัน เป็นเงิน 90,000 บาท
โดยแบงจ่าย งวดละ 15 วัน เป็นเงิน 30,000 บาท


วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสร้างโรงเรียน ตาดีกา ในสามจังหวัดชายแดนใต้

 เมื่อ ทราบข่าวว่าที่โรงเรียน ตาดี กา
ที่ยังสร้างไม่เสร็จในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้..ผมจังอยากจะลงไปดู ไปสัมผัส ด้วยมือ ไปดูด้วยตา ไปฟังด้วยหู ..แม้ผมจะไม่ใช่คนปักษ์ใต้
และผมไม่ใช่คนอิสลาม...แต่ผมคิดว่า นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับผม...
ในโพสต์นี้

ภาพบนคือ สภาพของโรงเรียน
ที่นักศึกษารามคำแหง มาร่วมกันสร้าง โโยการขอบิจาค จากเอกชน

ภาพล่าง คื้อภาพหลังจากเราระดมทุนเรี่ยไรเงินคนละ100 มาช่วยกันสร้างต่อ.....

ชายแดนใต้...

บางคนอาจจะเรียก กันว่า พื้นที่ชายแดนใต้..พื้นที่สีแดง พื้นที่อันตราย..อย่างยิ่งยวด...
แต่ผม..ไม่รับรู้หรอก..ผมรู้แต่ว่าผมสงสัย ว่าทำไม รัฐบาลไม่ให้งบเขาทำโรงเรียน  และผมอยากรู้เหตุผลว่า..
ทำไม ชาวบ้านอยากสร้างโรงเรียน
แม้ต้องออกเงินกันเอง...

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไปร่วมสร้างโรงเรียนตาดีกาที่สายบุรี

ผมได้รับคำบอกเล่าจากน้องทหารพรานหญิง ว่าที่
ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เด็กๆอิสลามไม่มีโรงเรียนตาดีกา..
เราเลยตกลงจะลงไปช่วยทำ..

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประวัติหมู่บ้านมะแนดาแล.. ตำบลปล่องหอย

ประวัติความเป็นมา
 หมู่บ้านมะแนดาแล..
บ้านมะแนดาแลนั้น มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 500 ปี ตามคำบอกเล่า คนผู้เฒ่า ผู้แก่ ในอดีตนั้น
บ้านมะแนดาแล ไม่ได้ชื่อดังเช่นปัจจุบัณนี้ แต่มีชื่อว่า "หมู่บ้านบ่าว"
ซึ่งปัจจุบัณบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านดังกล่าว เป็นบริเวณท้องทุ่งนาไปหมดแล้ว ชาวบ้านเรียกแถวนั้นว่า
(บือแนบ่าว) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ในปัจจุบัณ

ในอดีตนั้น หมู่บ้านบ่าว มีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อ ."โต๊ะบ่าว"เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน โดยมีผู้ชายเป็นกำลังหลักในการดูแลรักษาหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความเคารพนับถือโต๊ะบ่าว เป็นอย่างยิ่ง
โต๊ะบ่าวก็ปกครองลูกบ้านอยู่อย่างเป็นสุขเรื่อยมา...ซึ่งโต๊ะบ่าวเองมีแต่บุตรธิดาเท่านั้น
อาชีพหลักของชาวบ้าน คือทำนาเป็นอาชีพหลัก...

          อยู่มาวันหนึ่ง..มีบุรุษนิรนาม ได้เข้ามาขออาศัยอยู่ในหมู่บ้าน"บ่าว" โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าบุรุษนิรนามนั้นเป็นใครมาจากไหน แต่ด้วยเพราะนิสัยใจคอเป็นผู้มีอัธยาศัยดี ทำให้ชาวบ้าน โดยที่บุรุษนิรนามผู้นั้น ได้มารับจ้างทำงานต่างๆในหมู่บ้านเรื่อยมา และอยู่อย่างมีความสุข โดยอาศัยอยู่ในกระท่อมท้ายหมู่บ้าน"บ่าว"
....      วันหนึ่งมีผู้ไม่หวังดีจากถิ่นอื่น มาท้าประลองโต๊ะบ่าวให้สู้กัน โดยหวังจะยึดหมู่บ้าน"บ่าว"
และจะทำการปกครองแทนโต๊ะบ่าว เพราะหมู่บ้านบ่าว มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก จึงเป็นที่ต้องการของคู่ต่อสู้ การมาท้าประลองในครั้งนี้ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะออกไปประลองด้วย เพราะเกรงขามในความเก่งกาจของคู่ต่อสู้..
ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัว กับอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น เมื่อไม่มีผู้ใดกล้าที่จะออกไปต่อสู้กับศัตรูที่มารุกรานในหมู่บ้านบ่าว
            ส่วนโต๊ะบ่าวนั้นก็คิดหนัก เพราะตัวเองก็มีอายุมากแล้วส่วนบุตรก็มีแต่บุตรธิดาเท่านั้น
มิหนำซ้ำ ไม่มีผู้ใดกล้าออกไปต่อสู้ด้วย ทำให้โต๊ะบ่าว เกิดความกลุ้มอกกลุ้มใจเป็นอย่างมาก ในการที่จะรักษาหมู่บ้านให้อยู่รอดปลอดภัย ...
          กล่าวถึงบุรุษนิรนามพอได้ทราบข่าวว่ามีผู้ไม่หวังดีเข้ามาท้าประลอง..แต่ไม่มีใครกล้าออกไปประลอง  ก้เลยขออาสาไปประลองแทนโต๊ะบ่าวเพราะด้วยสำนึกในบุญคุณที่ได้มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน
ซึ่งโต๊ะบ่าวก็อนุญาต และให้คำมั่นสัญญาว่า หากการปประลองในครั้งนี้
ถ้าบุรุษนิรนามได้รับชัยชนะ ก็จะยกธิดาให้เป็นภรรยา พร้อมกับจะยกหมู่บ้านให้ปกครองอีกครึ่งหนึ่งด้วย
          ฝ่ายบุรุษนิรนามนั้น เมื่อโต๊ะบ่าวอนุญาตให้ไปประลองแล้ว ก้ได้อำลาโต๊ะบ่าว และได้เดินทางออกจากหมู่บ้านเพื่อไปประลองกับคู่ต่อสู้..
          สนามประลองในครั้งนั้น ปัจจุบัณคือบริเวร หมู่ที่ 1 บ้านมะกอ จากการประลองการต่อสู้ในครั้งนั้น
บุรุษนิรนามและคู่ต่อสู้ต่างใช้ความรู้ความสามารถของตนที่มีอยู่อย่างสุดความสามรถ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ..จนสุดท้ายบุรุษนิรนามเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะกลับมา สามารถสังหารคู่ต่อสู้ได้ นำความปลาบปลื้มปิติมายังหมู่บ้านบ่าว โดยเฉพาะหัวหน้าหมู่บ้าน ที่ทึ่งในความสามารถของบุรุษนิรนามเป็นอย่างมาก...
         
         โต๊ะบ่าวก็ได้รักษาสัญญา โดยยกธิดาพร้อมยกหมู่บ้านให้ปกครองครึ่งหนึ่ง ด้วยความจำใจ กับสัญญาที่ให้ไว้กับบุรุษนิรนามผู้นี้ บุรุษนิรนามเมื่อได้ธิดาหัวหน้าหมู่บ้านมาเป็นภรรยาก็ได้ย้ายจากกระท่อมท้ายหมู่บ้าน เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านโต๊ะบ่าวเป็นการชั่วคราวก่อนจะขยับขยายหาที่ใหม่..
         แต่การเข้ามาอาศัยอยูบ้านโต๊ะบ่าว ของบุรุษนิรนามนั้นก็ทำให้เกิดคำครหาขึ้นมาอีก ว่า "โต๊ะบ่าว"
นั้นได้ลูกเขยทั้งที่ไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน ส่วนโต๊ะบ่าวเป็นถึงหัวหน้าหมู่บ้าน  บางก็ว่าเป็นเพียงคนที่มารับจ้างทำงานหากินไปวันๆหนึ่ง ไม่มีหัวนอนปลายเท้า เป็นหลักแหล่ง
 ก็ทำให้โต๊ะบ่าวอับอายขายหน้าเป็นอย่างยิ่ง ลืมนึกถึงควาทมอยู่รอดของหมู่บ้าน
ซึ่งเพิ่งพ้นประสพการณ์มา ก็เลยคิดเล่ห์กลอุบาย เพื่อจะไล่ธิดาและลูกเขยไปจากหมู่บ้านบ่าว  เพื่อให้ไปหาบุกเบิกหมู่บ้านเอาใหม่ ซึ่งที่จะไปบุกเบิกใหม่นั้นเป็นสถานที่ ที่ไม่มีใครกล้าไป เพราะมีอันตรายมาก โดยที่ใจจริงแล้วโต๊ะบ่าวอยากให้ทั้งคู่เสียชีวิตที่เกิดจากอันตรายของสัตว์ร้ายนานาชนิดมากกว่า
ซึ่งก็ไม่เป็นดั่งที่ท่านหวังไว้ และธิดาของท่านกับบุรุษนิรนามก้ทราบดี แต่ทั้งสองก็ไม่ได้ทักท้วงอะไร
ในเมื่อเป็นความต้องการของบิดา..

          จากการไปบุกเบิกสร้างหมู่บ้านใหม่นั้น ทำให้ทั้งคู่ต้องออกจากหมู่บ้านบ่าว โดยมีชาวบ้านทะยอย
ตามกันเข้าไปอาศัยอยู่ด้วย และก็ยังมีลูกหลานตามมาอย่างมากมาย
จุดที่ทั้งคู่ตั้งบ้านหลังแรกนั้น ปัจจุบัณคือ"บนถนนหลวงหน้าบ้าน นาย ยะโกะ วายะโยะ"
(แบโกะ อาเนาะเมาะ)

          จนกระทั่งวันหนึ่งได้มี ครูสอนสีละ (ศิลปะการต่อสู้ของชาวมลายู)คนหนึ่ง เป็นผู้หญิงซึ่งนางได้เดินทางมาจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ทำการสอนสีละ จากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่ง เรื่อยๆจนได้มา
ถึงหมู่บ้านที่บุรุษนิรนามปกครองอยู่ จากการได้มาสอนสีละที่หมู่บ้านแห่งนี้ ทำให้ครูที่มาสอนสีละได้รู้ว่า
บุรุษนิรนามที่ปกครองหมู่บ้านแห่งนี้ก็คือพี่ชายของนาง ที่ได้หนีจากบ้านเกิดเมืองนอนมานานหลายปีแล้ว...และนางก็กำลังตามหาพี่ชายมาตลอด โดยอาศัยความรู้ที่มีมาเป็นครูสอนสีละ ซึ่งนางผู้นี้เดินทางมาจากเมือง "มินังกาบาว แระเทศอินโดนีเซีย"

        สาเหตุที่พี่ชายของนางได้หนีมานั้น บ้างก็ว่าแพ้การแข่งสีละ บ้างก็ว่าแพ้การชนควาย ก็เกิดความอับอาย จึงได้หนีจากบ้านเกิดเมืองนอน มิหนำซ้ำเป็นถึงลูกเจ้าเมือง มินังกาบาว ที่ชื่อ "ต่วนบาวก์"
เมื่อนางได้พบกับพี่ชายก็ได้ถามถึงความเป็นอยู่ของพี่ชาย และได้ชักชวนให้พี่ชายกลับเมือง มินังกาบาว แต่ต่วนบาวก์ ก็ได้ตอบปฏิเสธกับน้องสาวไป เพราะตัวต่วนบาวก์เองมีครอบครัวที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบ และยังมีลูกบ้านที่ต้องปกปักรักษา  ส่วนน้องสาวเมื่อต่วนบาวก์ตอบปฏิเสธมาดังนั้น นางก็อวยพรให้พี่ชายและครอบครัวโชคดี และได้อำลาพี่ชายกับเมืองมินังกาบาว ประเทศอินโดนีเซีย...

          ในเวลาต่อมา โต๊ะบ่าวผู้เป็นพ่อตา เมื่อทราบว่าลูกเขยของตน เป็นถึงลูกเจ้าเมือง มินังกาบาว ประเทศอิรโดนีเซีย ก็ทำให้โต๊ะบ่าวยอมรับลูกเขยตัวเองอย่างเต็มปาก และยอมรับความสามารถของ ต่วนบาวก์ เป็นอย่างมาก..
          ต่วนบาวก์ก็ได้ปกครองหมู่บ้านอย่างสงบสุ๘เรื่อยมา และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า
"บ้านบือแนดาแล " บือแนดาแลแปลว่า นาใน" ซึ่งตรงกับสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ ที่เป็นนาตั้งในหุบเขาล้อมรอบ ซึ่งปัจจุบัณ เปลี่ยนชื่่อมาเป็น "บ้านมะแนดาแล"

          ตามสภาพกาณ์ที่เปลี่ยนแปลงและให้เหมาะสมสำหรับบุตร-ธิดา ของต่วนบาวก์นั้น ไม่ทราบว่ามีกี่คน แต่ที่ผู้เล่าจำได้ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา ก็คือ " วายะ กับ วาโย " แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า ใครเป็นพี่ ใครเป็นน้อง วายะ กับ วาโย นั้น ปัจจุบัณนั้นก้คือ นามสกุล " วายะโยะ" นั่นเอง

         ผู้เขียนพยายามที่จะเรียบเรียงประวัติความเป้นมา ของหมู่บ้าน "มะแนดาแล" ให้ใกล้เคียงที่สุด
โดยได้สอบถามผู้อาวุโสภายในหมู่บ้านที่พออจะเล่าได้ มาบันทึกไว้เป้นอนุสรณ์ ของหมู่บ้าน
หากว่ามีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยใน ณ ที่นี้ด้วย และพร้อมที่จะแก้ไขในสิ่งที่เขียนผิด แลพยินดีที่จะต่อเติม ในส่วนที่ขาดหายไป....

                                                                            ด้วยสลามและดูอาร์

                                                                               นาย ดอหะ             วายะโยะ.....    บอกเล่า
                                                                               นาย  มาหะมะซี      วายะโยะ          เรียบเรียง
                                                                               นาย  ฮัมดัม            วายะโยะ         เรียบเรียง
                                                                               นาย  มายเสิด          มีทอง..          จัดทำเอกสาร..                                                                                            โพสต์เผยแพร่ โดย จามร จรมา 6 สค.2557
...................................................................................................................................................................        


วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความฝันอันเจิดจ้า...

ขอเชิญ เยาวชน และบุคคลทั่วไป
ส่งบทความ หรือส่งจดหมาย บรรยาย
ถึงความรู้สึก หรือวิสัยทัศน์ ที่ท่านมีความคิดเห็นอยากแสดงออก..ว่าอยากเห็น การพัฒนาในชุมชน ในด้านใดบ้าง ..ซึ่งบางสิ่งบางอย่าง ทางกองทุน จามร จรมา สามรถสนับสนุนให้ได้ก็ยินดีที่จะสนันสนุน เช่น การสร้างโรงเรียน ตาดีกาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ การสร้างสนามกีฬา การสร้างห้องสมุด
หรือการมอบทุนการศึกษา สำหรับนักเรียนที่มาฐานะยากจน เป็นต้น..
ส่งบทความ หรือจดหมาย ของท่าน

มาได้ที่.. จามร จรมา 140/19 ม.4 ถนนมาลัยแมน ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 โทร.0835455244.0918873397

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สร้างโรงเรียนตาดีกาในอำเภอสายบุรีจัหวัดปัตตานี


นี่คือภาพของโรงเรียน อัตเตาบะห์
ม.2 ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ..
ซึ่งผมกับทีมงาน..กำลังระดม ขอรับบริจาคเพื่อ ไปสร้างเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จ..ก่อนเดือนธันวาคม 2557 นี้

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โครงการสร้างสนามกีฬาในสามจังหวัดชายแดนใต้..

โครงการสร้างสนามกีฬา ให้กับเด็กๆนักเรียนปอเนาะ ในครั้งนี้ เกิดจากการที่ ผมและทีมงาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ กอ.รมน.จังหวัดปัตตานี.
ได้ลงพื้น พบปะพูดคุยกับชุมชนและได้รับทราบถึงความต้องการของเด็กๆ
ที่อยากได้สนามกีฬา ขนาด 30X40 เมตร ซึ่งจะใช้เป็นสนาม วอลเล่บอล
และสนามเซปักตระกร้อ..ดังนั้น
เมื่อเราได้พูดคุยหารือกันแล้วจึงได้
มีความเห็นว่า เราจะร่วมกัน สละทุนทรัพย์ ในการ่อสร้างสนามกีฬา แห่งนี้..ท่านที่สนใจโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ 083-545-5244
ขอบพระคุณครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความทรงจำ_ครั้งสุดท้าย_2 (ร.๘ พัน.๓)

รองเท้าทหารชายแดนใต้..

เมื่อผมลงไปเยี่ยมทหารชายแดนใต้
ผมถามพวกเขาว่า อยากได้อะไร
แทนที่พวกเขาจะขออย่างอื่น..
พวกเขากลับ ขอเพียงรองเท้า..

และเมื่อผมกลับมายังสำนักงาน
กองร้อยลืมอดีต ผมเซิชในกูเกิล..
ผมได้ภาพนี้มา..ภาพที่เคยเป็นข่าวโด่งดัง...แล้วก็เงียบหายไปตามสายลม..ทหารอยากได้รองเท้าที่เขาใส่ได้..ไม่คับเกิน และไม่หลวมเกินไป.. บางคนบอกว่าเขาได้รับแจกรองเท้าทุกๆปี แต่ละปีได้เบอร์มาไม่เหมือนกัน...มันประหลาดตรงที่ว่า
เขาใส่เบอร์แปด มาทุกปี..แต่บางปี
รองเท้าเบอร์แปด มีไม่พอ..ที่เหลือเต็มโกดังคือ เบอร์ 6-6.5 ซึ่งทหารก็ไม่เข้าใจว่า ทำรองเท้าที่เล็กและใส่ไม่ได้มาทำไม...

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สันติภาพที่ปัตตานี...

ความสงบสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้..
จะเกิดขึ้นได้..ด้วยการร่วมมือร่วมใจกัน..รู้จักให้
ซึ่งกันและกัน...

ชายแดนปัตตานี

หลายต่อหลายครั้ง..
ที่ผมถูกเพื่อนๆเรียกว่าไอ้"แหย"
เพราะผมไม่กล้ายิงเอ็ม 79 ใส่กลุ่มเขมรเสรีอพยพที่กำลังยิงปะทะกับทหารเขมรแดง ในเขตฝั่งไทย..
ผมกลัวสะเก็ตระเบิดเอ็ม79 จะกระเด็นไปโดนเด็กๆ ผู้บริสุทธิ์..
แต่ผมก็ได้เห็นเด็กชายตัวน้อยๆ วัย9-11 ปียิงปืนสู้กับเขมรแดงอย่างห้าวหาญ....

หลายครั้ง..ทีผมเห็นพวกเขากอดกัน
และร้องไห้..ก่อนจะละจากศพของพ่อหรือพี่ๆ และวิ่งลนลานข้ามมาฝั่งไทย.
ผมเห็นเพื่อนที่ตัวใหญ่ๆอุ้มเด็กเขมร ข้ามคลองหนีห่ากระสุนปืน..เห็นหญิงชาวเขมร คลอดลูกชายฝาแฝดขณะที่หนีลูกปืนอยู่บนแนวตะเข็บชายแดน...

ครั้นเกิดเหตุไม่สงบในชายแดนใต้..ผมจึงโหยหาเสียงสันติภาพ..ผมจึงต้องนั่งวางแผนการทำงานเพื่อแย่งชิงมวลชน กับกลุ่มที่เห็นต่างจากฝ่ายเรา...

สันตภาพที่ปัตตานี

เมื่อผมได้งลงไปปัตตานี..
มีเพื่อน..
เพื่อนส่งลิ้งค์
.สันติภาพปลายด้ามขวาน
มาให้ดู..
เมื่อดูแล้วก็ยิ้ม...และเริ่มมีความหวัง
รำไรๆ...ว่า..สักวัน ผมจะได้เดินเล่นสบายๆในทุกๆพื้นที่...

สิ่งที่ต้องการ..จากสามจังหวัดชายแดนใต้..

ทุกครั้ง..
ที่ผมลงไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ทหารหาญในสามจังหวัดชายแดนใต้.
สิ่งที่ผมมักถาม คือ ขาดอะไรอีก..
บางคนยิ้มด้วยแววตาเปี่ยมสุข..
แล้วคำตอบก็ทำให้ ผงะ..
" อยากได้รองเท้าทหาร"

เพราะที่ได้รับแจกมา..ไม่เพียงพอ..

มันจะพอได้ยังไง...บางคนใส่ตลอด 23 ชม. ผมอยากขอบริจาคเงิน..แต่ก็นั้นแหระ ที่ประเทศของผม มีบางคนเป็นคนฉวยเอาโอกาสตรงนี้ ไปขอบริจาคเงิน จนคนทั่วไปเข็ดขยาด....
มันจึงค่อนไปทางลำบาก..กว่าเขาจะเชื่อใจและให้เงินเรามา....

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กระท่อมชาวเล...

คนอื่น..อาจจะคิดว่ามันโกโรโกโส..
แต่ผมชอบนะ..
ดูขลังดี..

การทำประมง ชายฝั่ง..

ชาวประมง กำลังลำเลียงแมงกระพรุน
เตรียมส่งขึ้นท่า เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิต เพื่อแปรรูป...
 ที่อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นพื้นที่เขตติดต่อจังหวัดปัตตานี..
ชาวบ้าน จะใช้เรือไฟเบอร์ขนาดเล็ก
ในการทำการประมง...
ซึ่งส่วนใหญ่ ใช้ออกตกปลา
วางอวน..

เป้าหมาย..ดับไฟใต้..ให้ร่มเย็น..

เป้าหมาย ดับไฟใต้..ให้ร่มเย็น..

1.ลงพื้นที่เป้าหมาย..
ทุกเดือนๆละ1-2 ครั้ง..

2.มอบอุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์ การเรียน
การสอน แด่ โรงเรียน ตาดีกา ปอเนาะ และโรงเรียนไทยพุทธ อย่างเสมอภาค และต่อเนื่อง

3.มอบสิ่งของที่จำเป็นเพื่อสมทบให้
ทหาร ตำรวจ อส. ข้าราชการ ครู ในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง และทั่วถึง..

4.สร้างห้องอาบน้ำชะระร่างกายในมัสยิด ที่ร้องขอมา..อย่างทั่วถึง

5.สร้างห้องสมุด ให้โรงเรียน ปอเนาะ ที่ไม่ได้รับงบประมาณของทางราชการ

6.สร้างสนามกีฬา ตามที่เห็นสมควรให้กับชุมชนอิสลาม...ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้..

หมายเหตุ..ทั้งหมดนี้..จัดวางแผนรองรับ อย่างละเอียด มีการติดตาม อย่างต่อเนื่อง..และกระตุ้นให้มีจิตสำนึก ในการรับผิดชอบร่วมกัน อย่างกว้างขวาง...

มัสยิดกือเซะ..จ.ปัตตานี..

หลักการของนักปกครองที่ดี..
คือสนับสนุน คนให้เป็นคนดี..
ดังนั้น..เมื่อปัญหาในสามจังหวัดชายแดนใต้..เกิดจากที่คนคิดว่ามาจากศาสนา..หรือหลักคำสอน ของศาสนา..แต่ทุกๆคน..ในทุกศาสนาต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี...
คำว่า" คนดี" หมายถึงอะไร..
คงไม่ใช่หมายถึง..ฆ่าคนที่ไม่เห็นด้วย
แล้วได้เป็นคนดี...

แล้วเราจะฆ่ากันไปทำไม..ทำให้ทุกข์ใจไป่าวๆ...ทำไมเราไม่หันหน้าเข้าหากัน จับเข่าคุยกัน...สร้างสันติภาพร่วมกัน...

ห้องชำระร่างกาย ในมัสยิด..


เมื่อผม..และทีมงาน..ตั้งคำถาม..
ว่าอยากให้เราช่วยทำอะไรบ้าง..
โต๊ะครู..หรือ บาบอ
ในโรงเรียนตาดีกา
และโรงเรียนปอเนาะ..บอกกับเราว่า
อยากได้ สถานที่ล้างตัว มือและเท้า
เพื่อชำระกาย ก่อนการเข้าพิธิละหมาด..

หลังกลับจาก .อ.สายบุรี ผมต้องมานั่งทำการบ้าน โโยการเข้าไปค้นหา ภาพมาจากกูเกิล...แล้วมานั่งคำนวนค่าใช้ใจ ในการสร้างที่ชำระร่างกายดังกล่าว..ที่พี่น้องชาวมุสลิมอยากได้..

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนา มัสยิด

เมื่อผม..และทีมงาน ได้ลงไปที่ อ.สายบุรี
เราสอบถาม โต๊ะครู บาบอ ตามมัสยิดต่างๆ
ในหลายๆพื้นที่..อยากให้เราช่วยสนับสนุน
อ่างอาบน้ำ ชำระร่างกายก่อน ละหมาด..
เพราะ บางคน กลับมาจากทำงาน จะได้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดก่อน เข้าพิธีระหมาดนั่นเอง...
ภาพนี้..
เป็น อ่างอาบน้ำข้างๆมัสยิด ใน อ.จะนะ
แต่บางคนบอกว่า บางแห่งก็ทำเป็นก็อกน้ำ กั้นเป็นห้องๆ..เหมือนห้องอาบน้ำตามชายหาด....

หาดชายแดน/ลูกชาวประมง

เด็กๆเหล่านี้...
มีแต่ความบริสุทธฺ์ ไร้เดียงสา..
พวกเขาไม่รู้หลอกว่าผู้ใหญ่กำลังทำอะไรกัน..
มีความขัดแย้ง มีการเข่นฆ่า..
พวกเรารับรู้เพียงว่า เมื่อหิวก็ต้องได้กิน...

ส่งใจไปชายแดนใต้...

สิ่งที่ทำผมปวดใจมากที่สุด..
คือหลังจากที่ผมกลับมาจาก มอบสิ่งของให้ ทหารและเด็กนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ..แล้วปรากฎมีข่าว ทหารหรือชาวบ้านยังโดนลอบทำร้ายบ่อยๆ...

กับข้าวงานบวช...

ผู้บังคับกองพัน..เดินตรวจอาหารการกินด้วยตัวเอง..
ซึ่ง แต่ละโต๊ะ จะมีชื่อเจ้าภาพติดไว้..
ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีในชุมชน....

สามสาว สิงห์สลาตัน

งานมวลชนสัมพันธ์..ต้องทำตัวให้เข้าท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้...งานนี้น้องสาวคนเล็กของเรา..
ลงทุนเข้าวัด กินข้าวในวัด..
เพื่อความปองดอง สมานฉันท์..

งานบวชพระ..ที่ปัตตานี

เป็นการทานข้าวในงานบวชที่ต้องมีทหารถือปืน..อารักขา กันตลอด 24 ชั่วโมง..
ฟังดู..ช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร..
แต่ความจริง..ชาวบ้านก็ไม่ได้กลัวอะไรเลย....

วิถีชีวิตชาวเล..

หลังกลับจาก อ.ชายแดน ในจังหวัดปัตตานี ผมและทีมงาน มักต้องหาที่พักผ่อน ในระยะเวลาสั้น ๆ สัก 10-20 นาที เพื่อผ่อนคลาย..ความตึงเครียด
ดังนั้น เราจึงต้องแวะหมู่บ้านชายเล
ที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด....